วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การแต่งกายของคนไทย

การแต่งกายของไทย ในรัชกาลที่ 4 - 5

   สมัยรัตนโกสินทร์ ( 2310-2394 ) การแต่งกายสมัยรัตนโกสินทร์ในระยะแรก คงมีลักษณะ คล้ายคลึงกับ สมัยอยุธยา ตอนปลาย แต่ต่อมาภายหลัง เมื่อได้ติดต่อกับ ชาวยุโรป และได้รับ วัฒนธรรมตะวันตก แบบอย่าง ประเพณีและการแต่งกาย จึงเปลี่ยนไปตามสมัยนิยม ในรัชกาลที่ 1-3 ผู้ชายนิยมไว้ "ผมทรงมหาดไทย" หรือ "ทรงหลักแจว" ไม่นิยมใส่เสื้อ นุ่งโจงกระเบน ผู้หญิงไว้ผมทรงปีก เพียงแต่ไม่สั้นเกรียน แบบผู้ชาย ห่มสไบทับเสื้อแบบแขนทรงกระบอก นุ่งผ้าโจงกระเบน ส่วนเจ้านายฝ่ายใน นิยมห่มสไบปัก นุ่งผ้าลายทอง
ทรงหลักแจว
การแต่งกายของไทย ผมทรงมหาดไทย

การแต่งกาย ในรัชกาลที่ 4 ( 2394-2411 )

   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( ร 4 ) ได้มีการติดต่อกับฝรั่งมากขึ้น การแต่งกาย ของข้าราชการฝ่ายชาย เริ่มมีการ ใส่เสื้อเข้าเฝ้า และสวมรองเท้า ส่วนผู้หญิงห่มสไบ ใส่เสื้อแขนกระบอก นุ่งผ้าโจงกระเบน ถ้าเป็นเด็ก นิยมเกล้าผมไว้ เป็นจุก ใส่เสื้อคอกลม ติดลูกไม้

รัชกาลที่ 4

ในรัชกาลที่ 5 ( 2411-2453 )

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( ร 5 ) ภายหลังจากที่ได้เสด็จประพาสยุโรปแล้ว อิทธพลการแต่งกาย ของฝรั่งได้เข้ามา เจ้านายฝ่ายในได้เปลี่ยนจากห่มสไบ มาใส่ เสื้อลูกไม้แขนพองแบบฝรั่ง ตกแต่งด้วยสร้อยคอยาว สวมถุงเท้ายาว ซึ่งเจ้านายสตรีชั้นสูง เป็นผู้ริเริ่มการแต่งกายของสตรี โดยเฉพาะสตรีในราชสำนักมี การดัดแปลง แก้ไข หลายครั้ง ต้นรัชกาลภายในวังฝ่ายใน ขึ้นกับสมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราประยูร (พระราชธิดาในรัชกาลที่ 3 ) ซึ่งโปรดให้เจ้านายฝ่ายใน เปลี่ยนจากนุ่งโจง มานุ่งจีบ ห่มแพรสไบเฉียงตัวเปล่า ถึงพ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้แก้ไขใหม่คือ ให้คงการนุ่งจีบไว้เฉพาะ เมื่อจะแต่งกับห่มตาด หรือ สไบปัก ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายเต็มยศใหญ่ของสตรีในวังเท่านั้น ปกติให้นุ่งโจงใส่เสื้อแขนกระบอก แล้งห่มผ้าสไบเฉียง ทับตัวเสื้อ และให้สวมรองเท้ากับถุงเท้าหุ้มให้ตลอดน่อง สำหรับ เสื้อแขนกระบอกในสมัยนี้ มีการดัดแปลง เป็นแบบต่างๆ แล้วแต่ ความพอใจของ แต่ละ บุคลล เชื่อว่าเมื่อเลิกนุ่งจีบห่มสไบตัวเปล่า เครื่องประดับแบบ ที่เหมาะกับการแต่งกาย ดังกล่าว เช่น สร้อยสังวาลย์ กำไลต้นแขน จี้ขนาดใหญ่ ก็มักจะไม่ได้นำออกมาใช้ จึงหันไป ประดับเครื่องประดับอื่นแทน เช่น เข็มกลัดติดผ้าสไบ ทำรูปแบบ อย่างเข็มกลัด ติดเสื้อของสตรีตะวันตก ต่อมาได้มีการดัดแปลงการห่มสไบ มาเป็นสะพายแพรแทน โดยการนำแพรที่จีบตามขวางเอว มาจีบตามยาวอีกครั้ง จนเหลือเป็น ผ้าแอบตรึงให้เหมาะ แล้วสะพายบนบ่าซ้ายรวมชายไว้ที่เองด้านขวา เป็นที่นิยมกว่าการห่มสไบเฉียง อาจเป็น เพราะว่าแพรสะพาย ไม่ปิดบัง ความงามของเสื้อ เช่น การห่มสไบ เพราะตัวเสื้อ ไม่มีการประดับประดามากต่อๆมา
       หลังจากที่การ เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2440 มีการนำแบบอย่าง การแต่งกาย ของสตรียุโรป มาดัดแปลงแก้ไข สตรีชั้นสูงเริ่มใช้เสื้อตัดตามแบบอังกฤษ สมัยควีนวิคตอเรีย เป็นเสื้อแขนพองตรงไหล่ แขนยาวและบางครั้ง ก็นิยมแขนเพียงศอก เรียกว่า ”เสื้อแขนหมูแฮม” หรือ ”ขาหมูแฮม” ตัวเสื้อประดับประดาด้วย อย่างงดงาม ด้วยลูกไม้ หรือติดโบว์ระยิบไปทั้งตัว ตัวเสื้อพอดีตัว คอเสื้อนิยมตั้งสูง แต่ยังคง นุ่งโจงกระเบน เป็นผ้าม่วง ผ้าลายหรือผ้าพื้นเมือง เข้ากับสีเสื้อแล้วแต่โอกาส และสะพายแพร สวมถุงน่องรองเท้า

      ตอนปลายรัชกาล แบบเสื้อได้เปลี่ยนไปอีก ช่วงนี้นิยมใช้ผ้าแพร ผ้าไหมและผ้าลูกไม้ ตัดแบบยุโรปที่นิยมกัน ในสมัยนั้นคือ คอตั้งสูงแขนยาวฟูพอง มีระบายลูกไม้เป็นชั้นๆ รอบแขนเสื้อ เอวเสื้อจีบเข้ารูป หรือคาดเข็มขัด และยังสะพาย แพรสวมถุงเท้า ที่มี ลายโปร่ง หรือปักด้วยดิ้นงดงาม สวมรองเท้าส้นสูง
     สำหรับแพรสะพาย ไม่ใช้แพรจีบ แล้วตรึงอย่างแต่ก่อน แต่ใช้แพรฝรั่งระบายให้หย่อนพองามแทน เป็นผ้าที่สั่งเข้ามา สำหรับเป็น แพรสะพาย โดยเฉพาะ เริ่มใช้เครื่องสำอาง ที่ส่งมาจากตะวันตกบ้างเช่น น้ำหอม เครื่องประดับนิยม สร้อยไข่มุก ซ้อนกันหลายๆสาย ประดับ เพชรนิลจินดา มากกว่าแต่ก่อน ซึ่งส่วนใหญ่จะออกแบบ แล้วสั่งทำจากต่างประเทศ
รัชกาลที่ 5
รัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 5
     ส่วนหญิงชาวบ้านทั่วไปนั้น ยังคงนุ่งโจงกระเบน ส่วนมากเป็นผ้าพื้น และห่มผ้าแถบ อยู่กับบ้านเช่นเคย
     สตรีในราชสำนักในสมัยรัชกาลที่ 5 เลิกไว้ผมปลีก แต่เปลี่ยนมา ไว้ผมยาวประบ่าแทน ตามพระราชดำริ อยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาก็เปลี่ยนมา ไว้ผมทรงดอกกระทุ่ม คือ ตัดผมทั้งศรีษะ ปล่อยให้ยาวชี้ขึ้นมาเล็กน้อย คล้ายดอกกระทุ่ม เมื่อผมยาว พอดีแล้วก็จะ หวีเสย ขึ้นไปตรงๆ และตัดพองามเรียกกันว่า ”ผมตัด” แต่อนุโลม เรียกว่า ”ผมดอกกระทุ่ม” เช่นกับ ผมทรงดอกกระทุ่มนี้ เป็นที่นิยมกันโดยทั่วไป แม้สตรีนอกราชสำนัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น